ปลายปีที่ผ่านมา สภาพอากาศเริ่มเย็นลงเหมือนกับเป็นการต้อนรับทุกคนเข้าสู่ฤดูหนาว
หลายคนต่างมีกิจกรรมที่รอทำในช่วงเวลาแบบนี้
#ThaiPBSPhoto ก็ไม่พลาดคว้าโอกาสในอากาศเย็นสบายนี้เหมือนกัน เราเลือกมาเดินเที่ยวชมสวนสาธารณะพิกัดใกล้ใจกลางกรุงอย่าง “สวนวชิรเบญจทัศ” หรือที่รู้จักกันในชื่อแบบไม่เป็นทางการว่า “สวนรถไฟ” ที่อยู่ใกล้กับตลาดนัดจตุจักร

ก่อนจะไปชมนก #ThaiPBSPhoto อยากจะชวนทบทวนให้รู้จัก “บ้านของนก” กันให้มากขึ้นก่อน “สวนรถไฟ” สวนสาธารณะใจกลางกรุงแห่งนี้ เดิมทีเคยเป็นสนามกอล์ฟของการรถไฟแห่งประเทศไทยก่อนจะถูกสร้างขึ้นเป็นสวนสาธารณะตามมติของคณะรัฐมนตรี “พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ” เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2541 เพื่อให้เป็นสถานที่ พักผ่อนหย่อนใจและออกกำลังกายของประชาชนทั่วไป

















ต่อมาในวันที่ 9 สิงหาคม 2545 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 ขณะทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมารทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
พระราชทานนาม
“สวนรถไฟ”
แห่งนี้ว่า
“สวนวชิรเบญจทัศ”
และแล้ว !


นกตัวแรกก็บินมาทักทาย
ผ่านเลนส์กล้องของ #ThaiPBSPhoto
” นกกระเต็นอกขาว“
นกกระเต็นอกขาว
White-throated Kingfisher
(Halcyon smyrnensis)
ลักษณะเด่น: มีสีสันจัดจ้านกระจาย อยู่ทั่วร่างกาย ทั้งปากและขาสีแดง หัวและท้องสีน้ำตาล หลังสีน้ำเงิน ส่วนช่วงใต้คอลงมาถึงอกเป็นสีขาว
เสียงร้อง: หัวเราะแหลมๆ เป็นระยะและร้องแบบลงต่ำ
ถิ่นอาศัย: สามารถพบได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย



นกยางโทนใหญ่
Great Egret
(Egretta alba)
ลักษณะเด่น: มีขนสีขาว หนังบริเวณหน้า สีเหลืองแกมเขียว ปากสีเหลืองแกมส้ม คอยาว หัวค่อนข้างเรียว แข้งและเท้าสีดำ ชอบหากินตามแหล่งน้ำ เช่น หนอง คลอง บึง ทะเลสาบ ลำคลองในป่าชายเลน
เสียงร้อง: “กร้า.ก.ก…ๆ”
ถิ่นอาศัย: สามารถพบได้ทั่วทุกภาค ของประเทศไทย


นกตัวใหญ่ที่ออกมาให้เราได้เก็บภาพอีกหนึ่งชนิดคือ
” นกยางโทนใหญ่“




หลังจากนั้น
เราก็พบ…
ดาวเด่นประจำสวน
” นกเค้าจุด“
ขวัญใจของผู้คนที่ผ่านไปผ่านมาด้วยความเป็น ” นกเค้าขนาดเล็ก” ตากลมโตน่ารักน่าชัง ทำให้นักชมนกไม่พลาดที่จะเก็บภาพเอาไว้ในคอลเลคชัน
นกเค้าจุด
Spotted Owlet
(Athene brama)
ลักษณะเด่น: หัวกลมและไม่มีขนยาวคล้ายหู หางสั้น ลำตัวโดยรวมสีเทาอมน้ำตาล มีจุดสีขาวกระจายทั่วลำตัวด้านบน ท้องสีขาว มีแถบคิ้วสีขาวเด่นและแถบคาดอกสีเทา
เสียงร้อง: “เสียงหัวเราะแหลมสูง”
ถิ่นอาศัย: พบได้ในพื้นที่โปร่งทั่วไป


เพื่อน ๆ ที่อ่านมาถึงบรรทัดนี้ก็คงจะเหลียวไปมองกล้องคู่ใจใกล้ ๆ ตัวพลางคิดว่าเราต้องเอาเลนส์ออกไปส่องนกตามรอยบ้างไหมนะ ?
ถ้าอย่างนั้น…
#ThaiPBSPhoto ขอแนะนำเทคนิคการถ่ายภาพรวมถึงอุปสรรคและความท้าทายต่าง ๆ ผ่านปากคำของช่างภาพผู้รักธรรมชาติ “ฉัฐพัชร์ สุวรรณยุหะ” มาให้ได้เตรียมตัวก่อนออกไปโบยบินกัน

“
ผมไปสะดุดกับคำว่า
” สวนรถไฟ“ซึ่งเราก็ไม่คิดว่าในพื้นที่กรุงเทพฯ ในสวนสาธารณะมันจะมีความอุดมสมบูรณ์เกี่ยวกับนกมันมีนกแบบนี้ด้วยหรอ? เออดีนะมันอยู่ใกล้กรุงเทพฯ มันน่าลองอ่ะ ฉัฐพัชร์กล่าวด้วยสีหน้ายิ้มแย้มแกมตื่นเต้น
“

” แรงบันดาลใจในการถ่ายนก มาจากความอยากที่ฝังอยู่ในใจตั้งแต่เริ่มถ่ายรูปเจ้านกกระเต็นใหญ่ เป็นนกที่เห็นแล้วทำให้เกิดแรงผลักดันให้อยากไปถ่ายก่อนไปถ่ายต้องวางแผนและเตรียมตัว เพราะไม่ใช่แค่เดินถ่ายเล่น แต่ต้องมีจุดหมายที่ต้องการ“


” เลนส์ 600 มม.“
คืออุปกรณ์ชิ้นแรกที่นึกถึงเพราะต้องดักถ่ายจากระยะไกล
ต่อมาการใช้
” ขาตั้งกล้อง” ทำให้ตา
ต้องอยู่ในวิวตลอด


และสุดท้ายคือ ” เก้าอี้“
อุปกรณ์ที่ช่วยให้การเฝ้าคอยสะดวกสบายยิ่งขึ้น
ฉัฐพัชร์ยังเผยถึงเทคนิคที่เขาใช้อย่างละเอียดพลางยิ้มด้วยความภูมิใจกับการรอคอยที่แลกมาด้วยภาพที่ประทับใจว่าช่วงเวลาที่นกออกหากินคือ 06.00 – 09.30 น. และ 15.00 – 17.00 น. พอรู้เรื่องช่วงเวลาแล้ว การรอคอยคือสิ่งที่ต้องควรมีเพราะต้องใช้เวลาหลายวันกว่าจะได้ภาพนกบางวันอาจไม่ได้ภาพอะไรเลย ต้องแล้วแต่จังหวะที่นกจะออกหากิน

ต่อมาคือการแต่งกายด้วย ” เสื้อผ้าสีมืด”เพื่อให้กลมกลืนกับธรรมชาติและจะใช้ ” ผ้าลายพรางพันเลนส์“ เพื่ออำพราง
“สปีดชัตเตอร์” อยู่ที่ 4000 – 4500 ขึ้นไป และต้อง ” ดัน ISO ช่วย”
ส่วนค่า F-stop ใช้ประมาณ 9 – 11 เพื่อจับตัวนกได้ชัด


เมื่อเราถามถึงอุปสรรค ฉัฐพัชร์ค่อย ๆ ไล่เรียงเรื่องราวว่า “อุปสรรคในการถ่ายนก สิ่งที่เจอคือมด แมลง หรือพวกสัตว์เลื้อยคลานที่ซ่อนตัวอยู่ ต้องมองดี ๆ พื้นที่ที่เราจะตั้งกล้องว่ามันปลอดภัยไหมบางทีก็เอาไม้เขี่ยก่อนเพื่อให้แน่ใจ ควรเตรียมน้ำและของกินไปด้วย เพราะเราจะใช้เวลามากในการรอคอย”

“ความสุขในการถ่ายภาพนก คือการได้เห็นนกตัวจริงและถ่ายภาพแอคชันต่าง ๆ ได้ความสำเร็จไม่ใช่แค่การได้ภาพ แต่เป็นการได้เรียนรู้พื้นที่และทำความเข้าใจธรรมชาติแม้ภาพที่ได้ออกมาจะไม่สมบูรณ์แบบ แต่ก็พอใจแล้ว” ฉัฐพัชร์อมยิ้มกับข้อคิดที่เขาได้รับจากภาพนกชุดนี้

“สวนรถไฟเป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติที่น่าสนใจ มีความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตและเป็นสถานที่ที่ผู้คนสามารถมาเรียนรู้และสัมผัสธรรมชาติได้แต่ก็ต้องระมัดระวังและเคารพธรรมชาติด้วย” ฉัฐพัชร์ กล่าวทิ้งท้ายด้วยความคิดเห็นของเขา
ยังมีนกอีกหลากหลายชนิดที่อาศัยอยู่ในสวนสาธารณะแห่งนี้ขอเพียงผู้เข้าชมอย่าลืมเคารพกฎระเบียบของสวนและไม่รบกวนวิถีชีวิตของสัตว์หากเพื่อน ๆ ต้องการทราบพิกัดของเหล่าน้องนกสามารถสอบถามกับผู้เชี่ยวชาญอย่างพี่ ๆ เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยได้เสมอ



